เว็บตรงสล็อต อันดับ1

SMF - Just Installed!

บาคาร่า

mpkwin

บาคาร่า

บาคาร่า

ผลบอลสด

เว็บตรงออนไลน์

รับติดป้ายแบนเนอร์, ป้ายโฆษณาราคาถูก รับติดป้ายแบนเนอร์, ป้ายโฆษณาราคาถูก รับติดป้ายโฆษณา รับติดป้ายโฆษณา รับติดป้ายโฆษณา ตอกเสาเข็ม, ขายเสาเข็ม, ขายแผ่นพื้น, ปั้นจั่น, รับผลิตเสาเข็ม

รับติดป้ายแบนเนอร์, ป้ายโฆษณาราคาถูก ไนโตรเจนเหลว รับติดป้ายแบนเนอร์, ป้ายโฆษณาราคาถูก รับรีโนเวท รับติดป้ายแบนเนอร์, ป้ายโฆษณาราคาถูก รับติดป้ายแบนเนอร์, ป้ายโฆษณาราคาถูก

ดาฟาเบท

Sbobet888 ทางเข้า Sbobet

บาคาร่า

บาคาร่า

คาสิโนออนไลน์

mpk

nexobet

usun

jokerfun88

fullhouse88

สล็อตเว็บตรง

mpkwin24h

betflik สล็อตเว็บตรง

สล็อตออนไลน์

เว็บตรงสล็อต อันดับ1

บาคาร่าเว็บครง

บาคาร่า888

9slot

บาคาร่า888

ผู้เขียน หัวข้อ: สภาพัฒน์ เผย Q4/64 อัตราว่างงานต่ำสุดในรอบปีครึ่ง แนวโน้มหนี้ครัวเรือนยังเพิ่ม  (อ่าน 29 ครั้ง)

Cindy700

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6087
    • ดูรายละเอียด
สภาพัฒน์ เผย Q4/64 อัตราว่างงานต่ำสุดในรอบปีครึ่ง แนวโน้มหนี้ครัวเรือนยังเพิ่ม

น.ส.จินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 และภาพรวมปี 64 พบว่า สถานการณ์แรงงานไตรมาส 4/64 เริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 โดยอัตราการมีงานทำเพิ่มขึ้น และอัตราการว่างงานต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาส 2/63 สำหรับภาพรวมปี 64 การจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน

สำหรับสถานการณ์แรงงานไตรมาส 4/64 ภาพรวมการจ้างงานมีจำนวนทั้งสิ้น 37.9 ล้านคน ลดลง 1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเกิดจากการลดลงของกำลังแรงงาน ขณะที่อัตราการมีงานทำอยู่ที่ 98.1% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 97.6% รวมถึงปีก่อนหน้าที่ 98% สะท้อนสถานการณ์การจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น

ด้านการจ้างงานภาคเกษตรกรรม มีจำนวน 12.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.3% จากการเลื่อนการเพาะปลูกจากไตรมาส 3/64 ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยมาเป็นไตรมาสปัจจุบัน และแรงจูงใจจากราคาสินค้าเกษตรบางชนิดที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนนอกภาคเกษตรกรรม มีการจ้างงาน 25.3 ล้านคน ลดลง 2.1% จากการลดลงของการจ้างงานในสาขากิจการโรงแรมและบริการอาหาร ซึ่งลดลง 7.9% สาขาก่อสร้างที่มีการจ้างงานลดลง 6.9% รวมทั้งสาขาการผลิต ที่การจ้างงานลดลง 1.2% โดยเป็นการลดลงในสาขาการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างรุนแรง

ขณะที่สาขาส่งออก มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยชั่วโมงการทำงานของภาคเอกชนอยู่ที่ 45.6 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 0.3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาด ขณะที่ผู้ทำงานต่ำระดับ มีจำนวนทั้งสิ้น 4.4 แสนคน ลดลง 14.1% และผู้เสมือนว่างงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 2.6 ล้านคน ลดลงจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวน 3.2 ล้านคน

ทั้งนี้ การว่างงานลดลงต่ำสุดตั้งแต่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ 1.64% ต่ำที่สุดตั้งแต่ใตรมาส 2/63 โดยมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 6.3 แสนคน เป็นการลดลงของจำนวนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน ที่ลดลง 21.7% ขณะที่แรงงานใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงานยังมีจำนวนเพิ่มขึ้น 4.1% โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งมีสัดส่วนถึง 49.3% ของผู้ว่างงานจบใหม่ทั้งหมด การว่างงานในระบบปรับตัวดีขึ้น โดยสัดส่วนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานต่อผู้ประกันตนมาตรา 33 อยู่ที่ 2.27% ลดลงเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกัน

สำหรับสถานการณ์แรงงานปี 64 การจ้างงาน มีจำนวน 37.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.2% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่ 1.8% จากการเคลื่อนย้ายของแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เข้ามาทำงานในสาขานี้ ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรมการจ้างงานลดลง 0.6% เป็นการลดลงในเกือบทุกสาขา ยกเว้นสาขาการขนส่งที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 2.7%

ด้านชั่วโมงการทำงานภาคเอกชน เพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ 94.4 ชั่วโมง/สัปดาห์ จาก 43.2 ชั่วโมง/สัปดาห์ แต่การทำงานต่ำระดับยังอยู่ในระดับสูง อัตราการว่างงาน อยู่ที่ 1.93% เพิ่มสูงขึ้นจาก 1.69% ในปี 63 จากผลกระทบที่สะสมตั้งแต่ต้นปี อย่างไรก็ดี การว่างงานในระบบที่สะท้อนจากผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (รายใหม่) ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง

สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป คือ

1. การดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจที่ต้องเอื้อต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจควบคู่กับการควบคุมการระบาด โดยมาตรการทางเศรษฐกิจ ต้องเน้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น และเอื้อต่อการฟื้นตัวของกลุ่ม SMEs ที่มีการจ้างงานมากกว่า 1 ใน 3 ของกำลังแรงงานทั้งหมด รวมทั้งการสร้างงานในระดับชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาในระดับพื้นที่ ควบคู่กับการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวด

2. การขยายตัวของแรงงานนอกระบบที่เพิ่มขึ้นมาก (ทำธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้างและช่วยธุรกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง) โดยส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรมที่ดูดซับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงต้องมีมาตรการจูงใจให้แรงงานกลุ่มนี้สมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนเพื่อให้มีหลักประกันที่มั่นคง

3. ภาระค่าครองชีพของประชาชน จากระดับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงไตรมาส 3-4/64 ส่งผลให้แรงงานมีภาระค่าครองชีพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งระยะต่อไป ต้องติดตามระดับราคาสินค้าอย่างใกล้ชิดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องหรือไม่

4. การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะ หรือการปรับเปลี่ยนทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและท้องถิ่น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ว่างงานระดับอุดมศึกษา และผู้ว่างงานระยะยาวที่ยังมีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง รวมทั้งแรงงานคืนถิ่น เพื่อให้แรงงานสามารถยกระดับหรือปรับเปลี่ยนทักษะให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม โดยจะนำมาซึ่งการมีรายได้ที่มั่นคง และช่วยให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่

"การจ้างงานในขณะนี้ สถานการณ์ยังไม่เสถียรดีนัก การแพร่ระบาดของโอมิครอนยังสูงขึ้น ถึงแม้จะมีผู้เสียชีวิตแค่ประมาณ 42 รายต่อวัน แต่ความรู้สึกของคนยังถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัว และยังไม่กล้าเปิดเหมือนระบบปกติ ทั้งนี้ ได้มีการเปิดระบบเศรษฐกิจที่มากขึ้น ควบคู่ไปกับการควบคุมโรคระบาด ไม่เหมือนช่วงแรกที่ปิดระบบทั้งหมดเลย ดังนั้นคาดว่าแนวโน้มน่าจะดี แต่ก็ยังต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป" น.ส.จินางค์กูร กล่าว
รองเลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวถึงภาวะหนี้สินครัวเรือนว่า ในไตรมาส 3/64 ขยายตัวชะลอลง คุณภาพสินเชื่อปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แต่ต้องเฝ้าระวังการเกิด NPLs เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนต่อสินเชื่อรวมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยในไตรมาส 3/64 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.35 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% ชะลอลงจาก 5.1% ในไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นการชะลอลงในทุกประเภทสินเชื่อ โดยคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP อยู่ที่ 89.3% คงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

ด้านความสามารถในการชำระหนี้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) มีมูลค่า 1.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.89% ลดลงจาก 2.92% ในไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการบริหารจัดการคุณภาพสินเชื่อของสถาบันการเงิน

อย่างไรก็ตาม ยังต้องเฝ้าระวังปัญหาหนี้เสียอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ หรือสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนของสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลต่อสินเชื่อรวม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากมีปัจจัยลบมากระทบต่อรายได้ครัวเรือนอาจส่งผลหนี้เสียปรับเพิ่มขึ้นได้

"หนี้ครัวเรือนในช่วงที่ผ่านมา ได้มีมาตรการของภาครัฐ ที่บริหารจัดการหนี้สินให้ไม่เป็นภาระกับผู้ที่เดือดร้อน ทั้งมาตรการทำโครงสร้างหนี้ใหม่ ปรับโครงสร้างหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงมาตรการควบคุมสินเชื่อ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การก่อหนี้ หรือการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ทำให้ประชาชนสามารถหายใจได้ดีขึ้น" น.ส.จินางค์กูร กล่าว
ทั้งนี้ ในระยะถัดไปหนี้สินครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุจาก 1. ครัวเรือนรายได้สูงหรือที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตยังมีแนวโน้มก่อหนี้เพิ่ม โดยเฉพาะในสินเชื่อเพื่อยานยนต์ ที่ยอดจองรถจักรยานยนต์และรถยนต์ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2021 ช่วงต้นเดือนธ.ค. 64 เกินเป้าหมายที่ 30,000 คัน และสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น จากมาตรการการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน และ 2. กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 มีความต้องการสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เพื่อนำมาชดเชยสภาพคล่องจากรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัว

อย่างไรก็ดี สถานการณ์หนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงในปัจจุบัน อาจเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป จึงต้องให้ความสำคัญ ดังนี้ 1. การเร่งดำเนินมาตรการการแก้ไขปัญหาหนี้ ซึ่งยังมีปัญหาในกลุ่มลูกหนี้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ที่ได้รับการช่วยเหลือเพียงการชะลอการชำระหนี้แก่ลูกหนี้แบบชั่วคราว อาทิ การขยายระยะเวลา การพักชำระหนี้ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม 2. การส่งเสริมให้ครัวเรือนเข้าถึงสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง แต่ต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน เพื่อไมให้ครัวเรือนมีภาระหนี้มากเกินไป และ 3. การส่งเสริมให้ครัวเรือนได้รับการจ้างงานที่มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเน้นการยกระดับทักษะแรงงาน

"ในภาพรวม มีมาตรการผ่อนคลายเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคนกลุ่มนี้มีความสามารถในการจัดการหนี้ได้ประมาณหนึ่ง รวมถึงเรื่องรถยนต์ด้วย อย่างไรก็ตาม การจ้างงานยังไม่กลับสู่สภาพเดิม อัตราการว่างงานถึงแม้จะลดลง แต่ยังไม่ลงมาถึงระดับอัตราเดิม ดังนั้น กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยยังคงได้รับผลกระทบอยู่ ทั้งเรื่องรายได้ของตนเอง และรายจ่าย ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเข้าไปช่วยเหลือในส่วนนี้" น.ส.จินางค์กูร กล่าว
รองเลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวถึงการเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังในไตรมาส 4/64 และภาพรวมของปี 64 ว่า ลดลงและสถานการณ์สุขภาพจิตมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด-19 ของประชากรวัยเด็ก ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง โดยในไตรมาส 4/64 การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังลดลง 67.9% เป็นการลดลงในทุกโรค โดยลดลงอย่างชัดเจนที่สุดในผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ที่ลดลงกว่า 95.8% ส่งผลให้ในภาพรวมปี 64 ผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังลดลง 54.5% จากปี 63 ซึ่งเป็นผลจากการที่ประชาชนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมลดลง และรักษาสุขภาพของอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ สถานการณ์สุขภาพจิตของคนไทยมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังมีผู้ที่คิดว่าตนเองกำลังเป็นซึมเศร้ากว่า 46% ที่ละเลยและไม่ทราบแนวทางการจัดการความเครียด และภาวะซึมเศร้าได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ช่องทางการรับความช่วยเหลือหรือคำปรึกษา และการสร้างความรู้ถึงแนวทางในการจัดการปัญหาความเครียด เพื่อลดความรุนแรงและนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายต่อไป

ทั้งนี้ ยังต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด-19 ของประชากรเด็ก ซึ่งยังมีสัดส่วนการได้รับวัคซีนอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุและประชากรกลุ่มเปราะบาง ที่อาจยังไม่ได้รับวัคซีนเพียงพอที่จะก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันอย่างเต็มที่ จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการป้องกันโรคส่วนบุคคล

 

 

อุปกรณ์ออกบูธ